ประวัติวัดท่าเกวียน
ตั้งอยู่เลขที่ ๑๓๘ ม.๖ ต.คลองข่อย อ.ปากเกร็ด จ. นนทบุรี
เริ่มแรกทีเดียว เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๓ หลวงปู่เอี่ยม
เจ้าอาวาสวัดสะพานสูง ท่านได้เดินทางไปโปรดญาติโยมทาง
บ้านระแหงและหน้าไม้ ซึ่งก่อนนั้นทางด้านแถบนี้ไม่มีวัด ประชาชนไปทำบุญกันที่วัดสะพานสูง หลวงปู่เอี่ยมท่าน
ได้เดินทางผ่านมาทางนี้ซึ่งมีบ้านผู้คนอาศัยกันอยู่ปะปราย เมื่อเดินทางมาถึงท่าน้ำที่มีคนนำเกวียนขนของ เช่น ข้าวและสิ่งของอย่างอื่นมาขายส่งพ่อค้าที่มาจอดคอยซื้อที่ริมคลองเป็นประจำ เมื่อท่านไปโปรดญาติโยมทางระแหงและหน้าไม้เดินทางผ่านมาถึงท่าเกวียนนี้ก็เป็นเวลาใกล้เพลพอดี ท่านจึงหยุดพักและฉันเพลที่นี่เป็นประจำ ต่อมาท่านได้สร้างเป็นศาลาเล็กๆหนึ่งหลังสำหรับเป็นที่พักและฉันเพลบริเวณนี้ เดิมเป็นป่าต้นขนากและต้นปรือ อยู่ห่างจากวัดสะพานสูงพอสมควร
ต่อมามีชาวบ้าน ชื่อนายทอง ใจเย็น นายบุญยักษ์ นายบุญโต้ง ปานเฟื่อง นายบุญปลูก เรืองฉาย นายอ่อง นายชุ่ม นายพุฒ นายแสน และนางน้อย ได้ร่วมบริจาคทรัพย์และกำลังกาย สร้างกุฏิขึ้นหลังหนึ่งซึ่งเป็นที่พักอาศัยของท่านหลวงปู่เอี่ยมและพระที่ร่วมเดินทางมากับท่านด้วย
เวลาต่อมาได้สร้างเป็นศาลาเล็กๆมุงด้วยสังกะสีขึ้นอีกหลังหนึ่งไว้สำหรับชาวบ้านมาทำบุญ ที่ดินที่ปลูกสร้างนี้เป็นที่ของนายบุญยักษ์ประมาณ ๑๘ ไร่ ติดอยู่กับทางเกวียน ที่ชาวบ้านบรรทุกของมาขายที่ท่าน้ำริมคลอง และติดที่สาธารณะ ประชาชนสมัยนั้นเรียกชื่อที่หลวงปู่เอี่ยมมาพักแรมนั้นว่า "วัดท่าเกวียน" จนมาถึงทุกวันนี้
บ้านระแหงและหน้าไม้ ซึ่งก่อนนั้นทางด้านแถบนี้ไม่มีวัด ประชาชนไปทำบุญกันที่วัดสะพานสูง หลวงปู่เอี่ยมท่าน
ได้เดินทางผ่านมาทางนี้ซึ่งมีบ้านผู้คนอาศัยกันอยู่ปะปราย เมื่อเดินทางมาถึงท่าน้ำที่มีคนนำเกวียนขนของ เช่น ข้าวและสิ่งของอย่างอื่นมาขายส่งพ่อค้าที่มาจอดคอยซื้อที่ริมคลองเป็นประจำ เมื่อท่านไปโปรดญาติโยมทางระแหงและหน้าไม้เดินทางผ่านมาถึงท่าเกวียนนี้ก็เป็นเวลาใกล้เพลพอดี ท่านจึงหยุดพักและฉันเพลที่นี่เป็นประจำ ต่อมาท่านได้สร้างเป็นศาลาเล็กๆหนึ่งหลังสำหรับเป็นที่พักและฉันเพลบริเวณนี้ เดิมเป็นป่าต้นขนากและต้นปรือ อยู่ห่างจากวัดสะพานสูงพอสมควร
ต่อมามีชาวบ้าน ชื่อนายทอง ใจเย็น นายบุญยักษ์ นายบุญโต้ง ปานเฟื่อง นายบุญปลูก เรืองฉาย นายอ่อง นายชุ่ม นายพุฒ นายแสน และนางน้อย ได้ร่วมบริจาคทรัพย์และกำลังกาย สร้างกุฏิขึ้นหลังหนึ่งซึ่งเป็นที่พักอาศัยของท่านหลวงปู่เอี่ยมและพระที่ร่วมเดินทางมากับท่านด้วย
เวลาต่อมาได้สร้างเป็นศาลาเล็กๆมุงด้วยสังกะสีขึ้นอีกหลังหนึ่งไว้สำหรับชาวบ้านมาทำบุญ ที่ดินที่ปลูกสร้างนี้เป็นที่ของนายบุญยักษ์ประมาณ ๑๘ ไร่ ติดอยู่กับทางเกวียน ที่ชาวบ้านบรรทุกของมาขายที่ท่าน้ำริมคลอง และติดที่สาธารณะ ประชาชนสมัยนั้นเรียกชื่อที่หลวงปู่เอี่ยมมาพักแรมนั้นว่า "วัดท่าเกวียน" จนมาถึงทุกวันนี้